พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระนางพญาเสน่ห์...
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ พร้อมใบอนุโมทนาบัตร ติดรางวัลที่1 งานลพบุรี
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์
1 ในสุดยอดพระเนื้อดิน จังหวัดสุโขทัย
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระเนื้อดินค่อนข้างหยาบ เปราะหักง่ายเพราะเป็นพระพิมพ์ที่บางมาก ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ได้แตกกรุครั้งแรกแค่มากี่ร้อยองค์เท่านั้น ในปี พ.ศ.2502 โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม เป็นชื่อตามศิลาจารึกสุโขทัย
จากนั้นได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำตามลำดับซึ่งก็พบพระพิมพ์นี้น้อย ข้อสังเกตส่วนใหญ่จะมีคราบหินปูนจับตามองค์หรือซอกองค์พระ ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 3 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม.อายุการสร้างราว พุทธศักราช 1939-51 ประมาณ 600 ปีเศษ
ต่อมาในปี พ.ศ.2505-06 ทางกรมศิลปากรถึงได้รวบรวมพระพิมพ์นี้ทั้งหมดออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาองค์ละ 50 บาท นับเป็นราคาที่สูงพอสมควรกับค่าเงิน เมื่อเทียบราคาทองคำ 1 เฟื้องทีเดียว
ปัจจุบันด้วยเป็นพระที่พบน้อยจึงหายากถึงยากที่สุด ราคาประเมินองค์งาม ๆ อยู่ที่องค์ละหลักแสนต้น ๆ
พุทธคุณ เป็น 1 ด้านนำโชคลาภ เมตตามหานิยมสุดยอด แคล้วคลาดนิรันดรอันตราย
*ข้อควรระวัง ปัจจุบันมีพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ (เก๊) ออกระบาดหนัก แม้แต่พิมพ์พระกรุใกล้เคียงก็ออกมาสมอ้างมากมาย ถ้าสงสัยให้ปรึกษาผู้รู้ไว้ก่อนอย่าใจร้อน เพราะ “ของแท้ไม่มีราคาถูก” แน่นอน
“มนัส ล้อมทรัพย์”
ประวัติผู้สร้างพระนางเสน่ห์จันทน์
“วัดพระศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” ศตวรรษที่ 19
จากหลักศิลาจารึกสุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ชาวบ้านเรียกแต่เดิมว่าวัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1946 โดย “พระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลงแม่” ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ที่ 2 และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าที่ 3 (ไสลือไท) เจ้าเมืองสุโขทัย ได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดแห่งนี้
วัดแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นเดียวกับวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรฯ ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ 3 ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงส่วนเรือนธาตุที่เป็นทรงระฆัง ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบ "อัฒจันทร์" คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา
“จากการค้นคว้าทำให้ทราบถึงที่มาของการสร้างวัดและพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์ ตามจารึกอ้างอิง สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา พุทธศักราช ตั้งแต่ 1939-1951”
จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.1911 ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ 16 ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.1939 และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.1951 ในปี พ.ศ.1955 สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ
- สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา (ผู้สร้างวัดตาเถรขึงหนังและ พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์)
- สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
- สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
- ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา
และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป
นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ
จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม “จารึกวัดตาเถรขึงหนัง” จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม 48 ภาพ
กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า 700 ปีมาแล้ว
คนรุ่นเก่าคงจะจำกันได้ว่า เมื่อพ.ศ.2502 นั้น กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัยเป็นการใหญ่ โบราณสถานอันเก่าแก่หลายแห่งได้ถูกค้นพบพระพุทธรูปและพระเครื่องบรรจุกรุไว้มากมาย โดยเฉพาะที่วัด "ตาเถรขึงหนัง" หรือ "วัดศรีพิจิตรฯ" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้พบกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่อีกกรุหนึ่ง อันเป็นที่มาของพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์
พระ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" แตกกรุ จากการบูรณะโบราณสถานสุโขทัยด้านใต้ เมื่อ พ.ศ.2502 ที่ "วัดตาเถรขึงหนัง" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบกรุพระเข้าโดยบังเอิญ และได้สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้อยู่ ณ ที่นั้นยิ่งนัก เพราะเมื่อกรุนั้นถูกเปิดออก หลายคนทีเดียวก็ต้องถึงกับตะลึง ด้วยปรากฏว่าภายในกรุ ได้มีกลิ่นหอมโชยอบอวลฟุ้งไปทั่วบริเวณ แม้แต่พระเครื่องที่พบครั้งนั้นก็พลอยมีกลิ่นหอมไปด้วยทุกองค์
ด้วยเหตุนี้พระพิมพ์ดังกล่าว จึงได้ถูกขนานนามต่อมาว่า "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" ซึ่งเป็นพระเครื่องศิลปะสุโขทัยที่งดงามมากอีกพิมพ์หนึ่ง ต่อมาได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำอีก ปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์หนึ่งซึ่งหายาก มูลค่าก็ยิ่งแพงมาก
พระเครื่องซึ่งพบจากกรุวัดตาเถรขึงหนังครั้งนั้น นอกจากพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ซึ่งมีลักษณะสามเหลียมหน้าจั่ว สูงประมาณ 3.-3.2 ซ.ม. พระกว้าง 2.5-2.7 ซ.ม. เป็นพระเนื้อดินเผาได้ขึ้นจากกรุมาหลายร้อยองค์แล้วยังปรากฏว่ามีพิมพ์พระเชตุพน พระเปิดโลก และพระแผงอีกหลายแบบได้รวมอยู่ด้วยในกรุนี้
ส่วนคำว่า "นางพญาเสน่ห์จันทน์" เพราะเป็นพระนั่งที่มีลักษณะสามเหลี่ยมซึ่งจัดอยู่ในสกุลพระ "นางพญา" อีกองค์หนึ่งนั่นเอง ส่วนองค์ต้นสกุลก็คือ "พระนางพญา" กรุวัดนางพญาที่จังหวัดพิษณุโลก ด้วยพบก่อนครั้งแรกแม้อายุการสร้างจะทีหลังห่างกันพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ถึง 200 กว่าปีก็ตาม
พุทธลักษณะ สี และการตัดปีกข้างของพระเครื่องพิมพ์ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย นั่งขัดราบบนฐานเขียง อยู่บนพื้นหลังสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลักษณะองค์พระค่อนข้างอวบอัด พระพักตร์ป้อมด้วยศิลปะแบบสุโขทัย รายละเอียดอลังการ
"พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" พระเครื่องซึ่งมีชื่ออันไพเราะประทับใจดังกล่าวนี้ จะมีแต่ชนิดที่สร้างเป็นเนื้อดินอาจจะผสมว่านหรือผงเกสรดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเท่านั้น เนื้อค่อนข้างร่วนแก่ดินซึ่งมีทั้งกรวดทรายละเอียดผสมอยู่มาก พระพิมพ์นี้จึงหักง่าย
สำหรับคราบที่ติดผิว หมายถึงพระเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านการใช้ จะปรากฏฝ้าขาวนวลจับอยู่ตามซอกทั่วไปเกือบทุกองค์ และที่ด้านหลังขององค์พระบางองค์จะมีลายมือประทับติดอยู่ด้วย
สำหรับสีของนางพญาเสน่ห์จันทน์ จะมี สีแดง(ยอดนิยม) สีเหลือง สีเขียว และสีอมดำเท่าที่พบ ส่วนขนาดกว้างยาวของพิมพ์นี้จะมีทั้งชนิดใหญ่และเล็ก ซึ่งความจริงแล้วองค์พระนางพญาเสน่ห์จันทน์จะมีขนาดเดียว การที่เป็นชนิดใหญ่และเล็กนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดปลีกให้กว้างจนดูใหญ่ หรือตัดปีกชิดจนดูเล็กไปเท่านั้นเอง แต่ถ้าดูองค์พระแล้วจะเท่ากันหมดทุกองค์
ในปี พ.ศ.2502 กรมศิลปากรได้เปิดกรุวัดพิจิตรฯ สุโขทัย ให้ประชาชนเช่าบูชาด้วยราคาถึงองค์ละ 50 บาท นับว่าเป็นราคาที่แพงมากกับค่าเงินในสมัยนั้น
ปัจจุบันนี้พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ราคาเต็มที่ประเมินอยู่ในหลักแสนต้น ๆ พุทธคุณ โดดเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดอันตราย และนี่ก็คือพระยอดนิยมของเมืองสุโขทัยพิมพ์สำคัญ ที่งดงามในศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ จนเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ได้เห็น จนอยากได้ไว้ครอบครองทีเดียว
ผู้เข้าชม
3647 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
ยังอยู่
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
พระนาคปรก กรุกุฎิราย สุโขทัย
พระกำแพงหน้าอิฐ
พระกรุวัดกระซ้ายตัดเดี่ยว พิมพ
พระร่วงเปิดโลก กรุเตาทุเรียง ส
พระคงเขียว ที่3งานสมาคมฯ
พระหลวงพ่อโตบางกระทิง พิมพ์สมา
พระร่วงยืนหลังลายผ้า มีซ่อม ลพ
พระสมเด็จปิลันท์ วัดระฆัง พิมพ
พระอู่ทองนั่งซุ้มเรือนแก้ว จ-พ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นรินทร์ ทัพไทย
Erawan
โก้ สมุทรปราการ
หมอเสกโคราช
kaew กจ.
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
นานา
อ้วนโนนสูง
ภูมิ IR
Beerchang พระเครื่อง
varavet
เจนพระเครือง
โกหมู
Le29Amulet
KoonThong_Amulets
เจริญสุข
termboon
ยิ้มสยาม573
someman
Paphon07
พีพีพระเครื่อง
chathanumaan
Achi
somphop
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1142 คน
เพิ่มข้อมูล
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ พร้อมใบอนุโมทนาบัตร ติดรางวัลที่1 งานลพบุรี
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ พร้อมใบอนุโมทนาบัตร ติดรางวัลที่1 งานลพบุรี
รายละเอียด
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์
1 ในสุดยอดพระเนื้อดิน จังหวัดสุโขทัย
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระเนื้อดินค่อนข้างหยาบ เปราะหักง่ายเพราะเป็นพระพิมพ์ที่บางมาก ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ได้แตกกรุครั้งแรกแค่มากี่ร้อยองค์เท่านั้น ในปี พ.ศ.2502 โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม เป็นชื่อตามศิลาจารึกสุโขทัย
จากนั้นได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำตามลำดับซึ่งก็พบพระพิมพ์นี้น้อย ข้อสังเกตส่วนใหญ่จะมีคราบหินปูนจับตามองค์หรือซอกองค์พระ ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 3 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม.อายุการสร้างราว พุทธศักราช 1939-51 ประมาณ 600 ปีเศษ
ต่อมาในปี พ.ศ.2505-06 ทางกรมศิลปากรถึงได้รวบรวมพระพิมพ์นี้ทั้งหมดออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาองค์ละ 50 บาท นับเป็นราคาที่สูงพอสมควรกับค่าเงิน เมื่อเทียบราคาทองคำ 1 เฟื้องทีเดียว
ปัจจุบันด้วยเป็นพระที่พบน้อยจึงหายากถึงยากที่สุด ราคาประเมินองค์งาม ๆ อยู่ที่องค์ละหลักแสนต้น ๆ
พุทธคุณ เป็น 1 ด้านนำโชคลาภ เมตตามหานิยมสุดยอด แคล้วคลาดนิรันดรอันตราย
*ข้อควรระวัง ปัจจุบันมีพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ (เก๊) ออกระบาดหนัก แม้แต่พิมพ์พระกรุใกล้เคียงก็ออกมาสมอ้างมากมาย ถ้าสงสัยให้ปรึกษาผู้รู้ไว้ก่อนอย่าใจร้อน เพราะ “ของแท้ไม่มีราคาถูก” แน่นอน
“มนัส ล้อมทรัพย์”
ประวัติผู้สร้างพระนางเสน่ห์จันทน์
“วัดพระศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” ศตวรรษที่ 19
จากหลักศิลาจารึกสุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ชาวบ้านเรียกแต่เดิมว่าวัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1946 โดย “พระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลงแม่” ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ที่ 2 และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าที่ 3 (ไสลือไท) เจ้าเมืองสุโขทัย ได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดแห่งนี้
วัดแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นเดียวกับวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรฯ ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ 3 ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงส่วนเรือนธาตุที่เป็นทรงระฆัง ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบ "อัฒจันทร์" คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา
“จากการค้นคว้าทำให้ทราบถึงที่มาของการสร้างวัดและพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์ ตามจารึกอ้างอิง สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา พุทธศักราช ตั้งแต่ 1939-1951”
จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.1911 ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ 16 ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.1939 และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.1951 ในปี พ.ศ.1955 สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ
- สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา (ผู้สร้างวัดตาเถรขึงหนังและ พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์)
- สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
- สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
- ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา
และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป
นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ
จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม “จารึกวัดตาเถรขึงหนัง” จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม 48 ภาพ
กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า 700 ปีมาแล้ว
คนรุ่นเก่าคงจะจำกันได้ว่า เมื่อพ.ศ.2502 นั้น กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัยเป็นการใหญ่ โบราณสถานอันเก่าแก่หลายแห่งได้ถูกค้นพบพระพุทธรูปและพระเครื่องบรรจุกรุไว้มากมาย โดยเฉพาะที่วัด "ตาเถรขึงหนัง" หรือ "วัดศรีพิจิตรฯ" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้พบกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่อีกกรุหนึ่ง อันเป็นที่มาของพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์
พระ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" แตกกรุ จากการบูรณะโบราณสถานสุโขทัยด้านใต้ เมื่อ พ.ศ.2502 ที่ "วัดตาเถรขึงหนัง" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบกรุพระเข้าโดยบังเอิญ และได้สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้อยู่ ณ ที่นั้นยิ่งนัก เพราะเมื่อกรุนั้นถูกเปิดออก หลายคนทีเดียวก็ต้องถึงกับตะลึง ด้วยปรากฏว่าภายในกรุ ได้มีกลิ่นหอมโชยอบอวลฟุ้งไปทั่วบริเวณ แม้แต่พระเครื่องที่พบครั้งนั้นก็พลอยมีกลิ่นหอมไปด้วยทุกองค์
ด้วยเหตุนี้พระพิมพ์ดังกล่าว จึงได้ถูกขนานนามต่อมาว่า "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" ซึ่งเป็นพระเครื่องศิลปะสุโขทัยที่งดงามมากอีกพิมพ์หนึ่ง ต่อมาได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำอีก ปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์หนึ่งซึ่งหายาก มูลค่าก็ยิ่งแพงมาก
พระเครื่องซึ่งพบจากกรุวัดตาเถรขึงหนังครั้งนั้น นอกจากพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ซึ่งมีลักษณะสามเหลียมหน้าจั่ว สูงประมาณ 3.-3.2 ซ.ม. พระกว้าง 2.5-2.7 ซ.ม. เป็นพระเนื้อดินเผาได้ขึ้นจากกรุมาหลายร้อยองค์แล้วยังปรากฏว่ามีพิมพ์พระเชตุพน พระเปิดโลก และพระแผงอีกหลายแบบได้รวมอยู่ด้วยในกรุนี้
ส่วนคำว่า "นางพญาเสน่ห์จันทน์" เพราะเป็นพระนั่งที่มีลักษณะสามเหลี่ยมซึ่งจัดอยู่ในสกุลพระ "นางพญา" อีกองค์หนึ่งนั่นเอง ส่วนองค์ต้นสกุลก็คือ "พระนางพญา" กรุวัดนางพญาที่จังหวัดพิษณุโลก ด้วยพบก่อนครั้งแรกแม้อายุการสร้างจะทีหลังห่างกันพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ถึง 200 กว่าปีก็ตาม
พุทธลักษณะ สี และการตัดปีกข้างของพระเครื่องพิมพ์ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย นั่งขัดราบบนฐานเขียง อยู่บนพื้นหลังสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลักษณะองค์พระค่อนข้างอวบอัด พระพักตร์ป้อมด้วยศิลปะแบบสุโขทัย รายละเอียดอลังการ
"พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" พระเครื่องซึ่งมีชื่ออันไพเราะประทับใจดังกล่าวนี้ จะมีแต่ชนิดที่สร้างเป็นเนื้อดินอาจจะผสมว่านหรือผงเกสรดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเท่านั้น เนื้อค่อนข้างร่วนแก่ดินซึ่งมีทั้งกรวดทรายละเอียดผสมอยู่มาก พระพิมพ์นี้จึงหักง่าย
สำหรับคราบที่ติดผิว หมายถึงพระเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านการใช้ จะปรากฏฝ้าขาวนวลจับอยู่ตามซอกทั่วไปเกือบทุกองค์ และที่ด้านหลังขององค์พระบางองค์จะมีลายมือประทับติดอยู่ด้วย
สำหรับสีของนางพญาเสน่ห์จันทน์ จะมี สีแดง(ยอดนิยม) สีเหลือง สีเขียว และสีอมดำเท่าที่พบ ส่วนขนาดกว้างยาวของพิมพ์นี้จะมีทั้งชนิดใหญ่และเล็ก ซึ่งความจริงแล้วองค์พระนางพญาเสน่ห์จันทน์จะมีขนาดเดียว การที่เป็นชนิดใหญ่และเล็กนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดปลีกให้กว้างจนดูใหญ่ หรือตัดปีกชิดจนดูเล็กไปเท่านั้นเอง แต่ถ้าดูองค์พระแล้วจะเท่ากันหมดทุกองค์
ในปี พ.ศ.2502 กรมศิลปากรได้เปิดกรุวัดพิจิตรฯ สุโขทัย ให้ประชาชนเช่าบูชาด้วยราคาถึงองค์ละ 50 บาท นับว่าเป็นราคาที่แพงมากกับค่าเงินในสมัยนั้น
ปัจจุบันนี้พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ราคาเต็มที่ประเมินอยู่ในหลักแสนต้น ๆ พุทธคุณ โดดเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดอันตราย และนี่ก็คือพระยอดนิยมของเมืองสุโขทัยพิมพ์สำคัญ ที่งดงามในศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ จนเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ได้เห็น จนอยากได้ไว้ครอบครองทีเดียว
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
3889 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี